วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ยาแนวบริเวณนอกอาคาร

ยาแนวบริเวณนอกอาคาร



ยาแนวบริเวณนอกอาคาร และ ลานจอดรถ ระเบียงจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ คือความแข็งแรงทนทาน ยิดหยุ่น ไม่แห้งแตกร้าวหรือ หลุดร่อน ทนต่อการสั่นสะเทือน ทั้งผนังและ พื้น และ ทนต่อสภาพอากาศร้อน หรือ ฝนตก ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และ ไม่ดูดซึมน้ำ  เรียกได้ว่ายาแนวบริเวณนอกอาคารมีการใช้งานหนัก จึงต้องใช้ยาแนวเฉพาะสำหรับภายนอก

วิธีการใช้งานยาแนวบริเวณนอกอาคาร
 ผสมยาแนวกับน้ำในอัตราส่วนผสมที่ผลิตภัณฑ์กำหนดไว้ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยากับน้ำสัก3-4นาที ควรหลีกเลี่ยงการยาแนว เมื่อมีแสงแดดส่องถึงบริเวณที่ทำการยาแนวโดยตรงหรือ บริเวณที่พื้นผิวร้อนจัด

สำหรับการยาแนวผนังบริเวณนอกอาคาร ให้ใช้เกรียงยางหรือ แผ่นยางตักยาแนวที่ผสมได้ที่แล้ว ปาดยาแนวให้เฉียงกับร่องยาแนวระหว่างกระเบื้อง เพื่อให้ยาแนวเต็มร่องยาแนว

สำหรับการยาแนวพื้นบริเวณนอกอาคาร นำยาแนวที่ผสมได้ที่แล้ว ทาลงบนพื้นที่ประมาณ 1 ตร.ม. แล้วใช้เกรียงปาดยาแนวให้ลงร่องยาแนวระหว่างกระเบื้องเพื่อความรวดเร็ว เพื่อให้ยาแนวเต็มร่องที่เตรียมไว้เช็ดยาแนวส่วนที่เลอะบนกระเบื้องออกจากแผ่นกระเบื้องด้วยฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ ก่อนที่ยาแนวจะแห้งสนิท

เมื่อยาแนวเสร็จแล้ว ให้ปล่อยยาแนวทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 2 ชม. แล้วทำความสะอาดกระเบื้องด้วยผ้าสะอาด เพื่อการยึดเกาะที่ดีของยาแนว ควรทิ้งยาแนวไว้ให้แห้งประมาณ 1วัน ก่อนการใช้งาน

เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำเข้าใต้แผ่นกระเบื้อง และป้องกันการเสียดสีของแผ่นกระเบื้อง ขณะที่มีการใช้งานบนพื้นผิว ควรเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย 3 มม. สำหรับงานผนัง และอย่างน้อย 3 มม. สำหรับงานพื้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น